10 วิธีง่าย ๆในการชงชาสมุนไพรจีนดื่มเองทุกวัน

10 วิธีง่าย ๆในการชงชาสมุนไพรจีนดื่มเองทุกวัน

อาหารเสริมที่ดีที่สุดของเอเชียที่อยู่ในแก้วชาสมุนไพรผ่อนคลาย เหมาะสำหรับการพักผ่อนแบบรวดเร็วได้เป็นอย่างดี

เอเชีย เป็นขุมทรัพย์แห่งส่วนผสมสมุนไพรที่มีคุณสมบัติทรงพลังที่สามารถช่วยดูแลสุขภาพของเราได้มาโดยตลอด นี่คือ 10 อาหารเสริมที่คุณสามารถใช้ในชาสมุนไพรได้เพื่อให้ได้ สุขภาพที่ดีขึ้น อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

1. ชาข้าวบาร์เลย์คั่วหอมกรุ่น

บาร์เลย์เป็นธัญพืชที่มักใส่ในโจ๊กหรือของหวานเพราะมีเนื้อสัมผัสที่มันและรสชาติที่หวาน เมื่อคุณคั่วเมล็ดธัญพืชพวกนี้แล้ว ข้าวบาร์เลย์จะแปรเปลี่ยนเป็นอะไรที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง เคยได้ยินเกี่ยวกับมุกิฉะในญี่ปุ่นหรือไม่? เพราะนั่นคือชาที่ทำมาจากเมล็ดข้าวบาร์เลย์นั่นเอง ชาบาร์เลย์ถูกใช้เป็นยารักษาเอเชียดั้งเดิมสำหรับอากาศที่ร้อนและคนที่มีสภาวะร่างกายร้อน เมื่อทำเครื่องดื่มนี้เองที่บ้าน คุณจะสามารถควบคุมปริมาณการคั่วได้ เช่นเดียวกับมั่นใจได้ว่าคุณได้ใช้เมล็ดข้าวบาร์เลย์ที่มีคุณภาพ

วิธีทำ:

คั่วเมล็ดข้าวบาร์เลย์ 2 ถ้วยในกระทะแห้งที่ไฟปานกลาง คนเป็นครั้งคราวจนกว่าเมล็ดจะถูกคั่วจนหมดและมีสีออกน้ำตาลแล้ว

เคี่ยวข้าวบาร์เลย์ที่คั่วแล้วในน้ำ 1.5 ลิตรเป็นเวลา 10-15 นาที จนกว่าคุณจะได้กลิ่นหอมของชาเล็กน้อย เสิร์ฟได้ทั้งแบบร้อนและเย็น

2. ชาเขียวโสมและน้ำผึ้งเติมพลัง

คนทั่วโลกหันไปบริโภคน้ำผึ้งเนื่องจากความสามารถในการเพิ่มภูมิคุ้มกันเมื่อพวกเขารู้สึกไม่สบาย แต่เมื่อใส่โสมเพิ่มเข้าไปจะช่วยทำให้สุขภาพของคุณดียิ่งขึ้นไปอีก ในทวีปเอเชีย โสมได้รับการยกย่องมานานแล้วว่าเป็นประกอบในยาที่สามารถทำให้สุขภาพดี เพิ่มภูมิคุ้มกัน ความจำ ความมีชีวิตชีวา และพลังงานได้ โสมมีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกัน แต่ถ้าหากคุณต้องการเพิ่มพลังล่ะก็ ลองมองหาโสมแดงเกาหลีหรือโสมเอเชีย การผสมน้ำผึ้งเข้ากับโสมจะก่อให้เกิดยาวิเศษที่คุณสามารถเพลิดเพลินได้อย่างง่ายดาย

วิธีทำ:

ผสมโสมแห้งที่ปอกเปลือกแล้วเข้ากับน้ำผึ้งคุณภาพดีแล้วคนให้เข้ากัน เก็บในขวดเพื่อแช่ไว้เป็นเวลา 1-3 สัปดาห์ เมื่อคุณต้องการพลังงาน ให้ละลายส่วนผสมหนึ่งช้อนลงในน้ำอุ่น หากต้องการพลังงานมากเป็นพิเศษ ให้ละลายน้ำผึ้งโสมในชาเขียวเพื่อให้ได้คาเฟอีนด้วย

3. ชามินต์และใบหม่อน

คุณอาจคุ้นเคยกับมัลเบอร์รี่ (หม่อน) ซึ่งเป็นเบอร์รี่ที่หวานอมเปรี้ยวคล้ายราสเบอร์รี่และแบล็กเบอร์รี่ แต่ใบของมันสามารถนำมาทำชาที่น่ารื่นรมย์ได้ โดยเฉพาะเมื่อนำมาผสมเข้ากับใบมินต์

อาหารจีนได้มีการใช้ใบหม่อนมานานแล้ว ไม่ใช่เพียงเพื่อเป็นอาหารสำหรับตัวไหมเพื่อสร้างการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศจีนเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยรักษาสุขภาพของคนในประเทศได้เป็นอย่างดี แม้ว่าการใช้งานใบหม่อนในอาหารจะดูเป็นสิ่งที่ดั้งเดิม แต่ใบหม่อนได้กลับมาถูกใช้ในอาหารเสริมอีกครั้งหลังจากที่คนเริ่มมองหาตัวช่วยลดระดับความดันเลือดหรือช่วยลดน้ำหนัก

ส่วนผสมออกฤทธิ์ในใบหม่อนมีชื่อว่า ซางเย่ (sang ye) ในภาษาจีน ซึ่งก็คือ 1-deoxynojirimycin (DNJ) โดยตัวนี้เป็นสารที่ช่วยป้องกันไม่ให้ดูดซึมคาร์โบไฮเดรตมากจนเกินไป

วิธีทำ: 

แช่ใบหม่อนแห้งในน้ำร้อนเป็นการชงชาแบบใช้ใบ หรือผสมเข้ากับมินท์สดหรือแห้งเพื่อทำเป็นส่วนผสมชาสมุนไพรตามตำรับแพทย์แผนจีน (TCM)

4. ชาอู่หลงและหอมหมื่นลี้ที่สมดุล

ด้วยกลิ่นหอมของดอกไม้อันหรูหรา ดอกหอมหมื่นลี้เป็นส่วนผสมที่ใช้บ่อยที่สุดในของหวานของจีน แต่หอมหมื่นลี้เองก็เป็นส่วนผสมที่เหมาะกับการใส่ในชาสมุนไพรเช่นเดียวกัน เช่นเดียวกับดอกไม้ชนิดอื่น ๆ ใน TCM ว่ากันว่าหอมหมื่นลี้สามารถช่วยทำให้ร่างกายเย็นลง ขับสารพิษ ทำความสะอาดร่างกาย และช่วยทำให้ผิวดีขึ้นได้

วิธีทำ:

ผสมดอกหอมหมื่นลี้และดอกกุหลาบตูมแห้งในสัดส่วนที่เท่ากันเพื่อให้ได้ชาที่บำรุงผิวได้ ใส่ดอกลาเวนเดอร์แห้งเข้าไปเพื่อเพิ่มการผ่อนคลายเล็กน้อย เพียงแช่ชาดอกไม้แห้ง 1 ช้อนชาในน้ำร้อนหนึ่งถ้วยเป็นเวลา 10-15 นาที คุณก็จะได้เมนูน้ำดอกไม้มาแล้ว หรืออีกแบบ คุณสามารถผสมดอกหอมหมื่นลี้แห้งเข้ากับชาใบอู่หลงเพื่อให้ได้ชาที่ทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้นได้

5. ชารากชะเอมหวานขม

ไม่มีอะไรที่ปฏิเสธได้ว่าชะเอมเป็นอะไรที่คุณต้องกินสักพักเพื่อให้ชอบมัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับลูกอมชะเอมดำแล้ว ชารากชะเอมสามารถให้รสชาติอ่อน ๆ กับคุณได้ แถมรากชะเอมเองก็มีการใช้บ่อยในส่วนผสมของ TCM blends ทำให้เราได้รู้ว่ามันก็มีประโยชน์ในด้านสุขภาพด้วยเช่นกัน

วิธีทำ:

สำหรับเมนูชา TCM ง่าย ๆ ให้แช่รากชะเอม 5 กรัมและกิ๊กแก้ (กันเฉ่า) 5 กรัมในน้ำเดือด 1 ถ้วยเป็นเวลา 5 นาที การผสมผสานเช่นนี้ว่ากันว่าจะช่วยละลายเสมหะและบรรเทาอาการเจ็บคอ ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในชีวิตคนเมือง อย่างไรก็ตาม โปรดทราบไว้ว่ารากชะเอมไม่เหมาะสำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูง

6. ชาโกจิเบอร์รี่หอมฉุย

แม้ว่าหลายส่วนผสมมักจะถูกจัดประเภทเป็น ‘ธาตุร้อน’ หรือ ‘ธาตุเย็น’ ใน TCM โกจิเบอร์รี่ถูกจัดว่าเป็น ‘ธาตุกลาง’ ซึ่งเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมที่เข้ากันได้ดีกับซุปและชาสมุนไพร โกจิเบอร์รี่ (หรือที่รู้จักกันในชื่อ เก๋ากี้) เชื่อกันว่าเป็นหัวใจสำคัญของอายุที่ยืนยาว และรู้จักกันว่ามีอนุมูลอิสระมากมาย ซึ่งแปลว่าโกจิเบอร์รี่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ตำรับยาเอเชียอีกต่อไป และสามารถพบได้ในสมูทตี้และอาซาอิโบลว์

โกจิเบอร์รี่เป็นจุดเริ่มต้นสู่โลกแห่งชาสมุนไพร โดยเฉพาะสำหรับเด็กด้วยรสชาติที่หวานและเปรี้ยว เมื่อผสมผสานเข้ากับพุทราในชาสมุนไพรแล้วจะกลายเป็นส่วนผสมที่ช่วยเติมเลือดและเพิ่มพลังงาน ดังนั้นสาว ๆ ทุกคน คุณคงรู้แล้วสินะว่าเมื่อวันนั้นของเดือนมาถึงคุณจะต้องทำอะไร และเมื่อมันเป็นชาที่ทำง่ายแบบนี้แล้ว ก็ไม่มีอะไรจะต้องเสีย

7. ชาโกจิเบอร์รี่และพุทรา

Jujube หรือพุทรา มักจะพบในซุปของหวานของจีน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่รับได้เมื่อคุณมองข้ามคุณสมบัติยาของมัน อย่างไรก็ตาม ตามคหวานเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ถูกนำมาใช้ใน TCM เพื่อควบคุมชี่ (qi), บำรุงเลือด, ทำให้จิตใจสงบ และเพิ่มภูมิคุ้มกัน พุทรามักจะเป็นที่ชื่นชอบจากผู้หญิงที่หันมาใช้พุทราในการควบคุมฮอร์โมน

เช่นเดียวกับโกจิเบอร์รี่ พุทรามีรสที่หวานและอร่อยเช่นเดียวกัน ทำให้เหมาะสำหรับเป็นส่วนผสมของชาสมุนไพร พุทราจีนนั้นมี "ธาตุร้อน" ตามธรรมชาติ ดังนั้นผู้ที่มีธาตุร้อนในตัวสูงควรทานอย่างมีระมัดระวัง แต่ก็เป็นส่วนสำคัญสำหรับชาวจีน โดยธรรมเนียมแล้วหลังคลอดจะให้สารอาหารที่อบอุ่นให้แก่คุณแม่ที่พึ่งคลอด

ชงพุทราจีนร่วมกับโกจิเบอร์รี่ในสูตรด้านล่างเพื่อความอร่อยและดีต่อสุขภาพที่ทุกคนในครอบครัวจะต้องหลงรักอย่างแน่นอน

วิธีทำ:

เคี่ยวพุทรา 4 ลูกและโกจิเบอร์รี่ ½ ถ้วยในน้ำเปล่า 500 มล. เป็นเวลา 20-30 นาที จากนั้นกรองออกและดื่มได้เลย

หากคุณกำลังใช้สูตรนี้ในการควบคุมฮอร์โมน อย่าลืมดื่มก่อนหรือหลังช่วงเวลานั้นของเดือน ไม่ใช่ระหว่างนั้นของเดือน

8. ชาถั่วเขียวผ่อนคลายและฟื้นฟูจิตใจ

ถั่วเขียวเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่ดี ถั่วเม็ดเล็ก ๆ เหล่านี้ถูกใช้ในการปรุงอาหารหลากหลายสไตล์จากทั่วโลก แต่พวกเขายังมีคุณสมบัติทางยาที่ทำให้เหมาะสำหรับการใส่ในชาสมุนไพร

วิธีทำ:

ต้มถั่วเขียว 1 ถ้วยในน้ำเปล่า 2 ถ้วยเป็นเวลา 20 นาที จากนั้นกรองออกและใส่น้ำผึ้งหรือน้ำตาลกรวดเพื่อให้ได้รสชาถั่วเขียวแบบดั้งเดิม

ถั่วเขียวเป็นแหล่งโพแทสเซียมและแมกนีเซียมซึ่งเป็นสององค์ประกอบที่มักหายไปในอาหารทุกวันนี้ ซึ่งถั่วเขียวอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล‘เลว’ ได้ ใน TCM ว่ากันว่าถั่วเขียวสามารถดับความร้อนและแพทย์ชาวจีนมักแนะนำให้รับประทานในหน้าร้อน ด้วยฤดูร้อนที่เรามีในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถั่วเขียวเล็ก ๆ เหล่านี้ควรที่จะมีอยู่ในทุกห้องครัว

9. ชาหล่อฮังก๊วยผ่อนคลาย

หล่อฮังก๊วย หรือในบางครั้งมีชื่อว่า ‘ผลมหัศจรรย์’ หรือ ‘ผลไม้อายุยืน’ เป็นแตงโมเขียวขนาดเล็กที่มีต้นกำเนิดจากจีนและมีความเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ที่นำมาเพาะปลูกครั้งแรก เมื่อไม่นานมานี้ หล่อฮังก๊วยได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในฐานะของน้ำตาลทางเลือก ซึ่งให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลประมาณ 200 เท่า ซึ่งแปลว่าคุณสามารถได้ความหวานในแบบเดียวกันโดยที่มีศูนย์แคลอรี

โดยดั้งเดิมแล้ว หล่อฮังก๊วยได้รับการยกย่องว่าเป็นส่วนผสมที่ช่วยกระจายความร้อน ทำให้เหมาะสำหรับวันร้อน ๆ และอาการเจ็บคอ ผลไม้นี้ถูกใช้โดยแพทย์ TCM เพื่อช่วยให้ปอดและทางเดินหายใจแข็งแรง ทำให้เป็นพันธมิตรที่สำคัญสำหรับการบำรุงสุขภาพ ใช้หล่อฮังก๊วยคู่กับดอกเก๊กฮวยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ ‘การระบายความร้อน’

10. ชาหล่อฮังก๊วยและดอกเก๊กฮวยสดชื่น

หนึ่งในส่วนผสมชาสมุนไพรที่นิยมมากที่สุด ดอกเก๊กฮวยขึ้นชื่อมากจนขนาดที่คุณสามารถพบได้ในเครื่องดื่มกระป๋องทั่วไป อย่างไรก็ตาม การทำชาเก๊กฮวยเองเป็นวิธีที่ดีเพื่อให้มั่นใจได้ถึงคุณภาพของสิ่งที่คุณจะบริโภค เช่นเดียวกับการปรับส่วนผสมตามความต้องการของคุณ

ดอกเก๊กฮวยว่ากันว่าสามารถช่วยทำให้ร่างกายเย็นลง เช่นเดียวกับการทำความสะอาดตับและปรับปรุงสายตา ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ทำให้คนที่ทำงานหน้าคอมอย่างเราสนใจ ทำชาโดยใช้ส่วนผสมระหว่างดอกเก๊กฮวยและใบชาเขียวในสัดส่วนที่เท่ากันสำหรับไว้จิบในทุก ๆ วัน หรือผสมดอกเก๊กฮวยกับหล่อฮังก๊วยจากสูตรด้านล่างเพื่อให้ได้ชาที่ช่วยทำให้ร่างกายเย็นลง

หล่อฮังก๊วยเป็นสิ่งที่ทำให้ชามีความหวานแบบธรรมชาติโดยที่ไม่ต้องใช้น้ำตาลเลย เสิร์ฟขณะร้อนหรือเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อให้ดื่มแบบเย็น ๆ

วิธีทำ:

กะเทาะผลหล่อฮังก๊วยแห้ง 1 ชิ้น และวางหม้อน้ำเปล่า 2 ลิตร ต้มจนเดือด ค่อย ๆ บดผลไม้ ใส่ดอกเก๊กฮวยแห้ง 25 กรัม และลำไยแห้ง 25 กรัมหากคุณต้องการ และเคี่ยว 45 นาที จากนั้นกรองออกและเพิ่มความหวานด้วยน้ำตาลกรวดหากต้องการ

ซาร่าห์ ฮวง เบนจามินเป็นเชฟและนักเขียนด้านอาหารจากสิงคโปร์ ลองดูบล็อกส่วนตัวของเธอได้ที่ www.kitchenhoarder.com ติดตามการผจญภัยทางด้านอาหารได้แล้วทุกโซเชียลมีเดียที่ @sarahhuangbenjamin

 
  • นื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพทั้งหมดบน asianfoodnetwork.com มีไว้เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และไม่ได้มีเจตนาที่จะให้คำแนะนำทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยหรือรักษา หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพของคุณ คุณควรติดต่อผู้ให้บริการดูแลสุขภาพในพื้นที่ของคุณ
หมวดหมู่:
ค้นพบเมนูอาหารสร้างแรงบันดาลใจกับฟีดสำรวจใหม่ของเรา!
ลองดูเลย

รีวิว

คะแนนโดยรวม

    แสดงรีวิวเพิ่มเติม
    แชร์สูตรอาหารนี้
    ปิด

    เมื่อคลิกที่ "ยอมรับ" คุณยินยอมให้เราใช้งานคุกกี้และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกัน

    อ่านนโยบายคุกกี้